กระซิบรักที่เมืองน่าน ในวันวาน

image00025ทริปนี้เป็นทริปที่ทำให้ผมได้กลับมาที่จังหวัดน่านอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนานเกือบสิบปี เพื่อนของผมเป็นคนน่านและเธอก็กำลังจะแต่งงานที่น่าน ทริปนี้จึงขอยกความดีความชอบให้เพื่อนคนสวยที่แสนดีที่ออกค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเหมารถตู้และจัดแจงที่พักรวมถึงสถานที่เที่ยวทั้งหมดไว้ต้อนรับ จัดเป็นทริป Sponsored Review ได้เลยนะครับเนี่ย ฮ่าๆ เอาล่ะ.. เรามาเริ่มทริปสั้นๆ 2 วัน 1 คืน กันเลยคร้าบ

ทริปแพลน

วันที่ 1 วัดพระธาตุเขาน้อย / บ่อเกลือ / ดอยภูคา / ถนนคนเดิน วัดภูมินทร์ / วัดช้างค้ำ
วันที่ 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

หลังจากนั่งรถตู้กันมาอย่างยาวนาน ก็มาถึงจังหวัดน่าน อากาศเย็นสบาย พวกผมรีบเข้าที่พักเป็นอย่างแรก แล้วจัดแจงล้างหน้าล้างตา อาบน้ำ ใครที่ยังไม่ตื่นก็แยกตัวไปนอนพักผ่อน พอสายๆ ทุกคนก็พร้อมออกไปลุย โดยที่แรกคือ วัดพระธาตุเขาน้อย

image00001

พระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีเมืองน่าน วัดพระธาตุเขาน้อย

image00006

บันไดทางขึ้น 303 ขั้น วัดพระธาตุเขาน้อย

วัดพระธาตุเขาน้อย อยู่ที่อำเภอเมืองน่าน ตั้งอยู๋บนยอดเขาน้อย สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2030 จุดเด่นก็คือบนยอดเขามีพระพุทธรูปปางลีลาองค์ใหญ่ และจากจุดชมวิวสามารถมองเห็นตัวเมืองน่านได้ การขึ้นมายังด้านบนต้องเดินขึ้นบันได 303 ขั้น หลังจากไหว้พระธาตุเรียบร้อย เราก็ไปต่อกันที่บ่อเกลือครับ

image00012

บ่อเกลือสินเธาว์ อ.บ่อเกลือ

image00013

ต้มเกลือสินเธาว์

บ่อเกลือที่นี่มีความไม่เหมือนใครก็คือการทำเกลือบนภูเขา ถือว่าเป็น Unseen เลยก็ว่าได้ แต่ก่อนบ่อเกลือมีหลายบ่อต่อมาได้เหือดแห้งไปเหลือเพียง 2 บ่อ เรียกว่า บ่อเหนือและบ่อใต้ อยู่ห่างกันประมาณ 500 เมตร เราจะได้เห็นวิธีการตักน้ำเกลือ นำเกลือมาต้ม จนจบกระบวนการ เมื่อเป็นที่พอใจแล้วก็สามารถซื้อผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์จากชาวบ้านได้ด้วยครับ เสร็จแล้วก็ตรงดิ่งไปต่อที่ดอยภูคากันครับ

image00019

จุดชมวิว ดอยภูคา

image00020

ลานกางเต็นท์ ดอยภูคา

%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b9%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%84%e0%b8%b2

ดอกชมพูภูคา จากเว็บไซต์ lannatouring.com

ดอยภูคา เป็นที่ที่พวกผมนิยมมาชมวิวและพักผ่อนกันบ่อยๆ ที่นี่สามารถมานอนดูดาวยามค่ำคืนได้ด้วย จุดเด่นอีกอย่างก็คือต้นไม้หายากที่ชื่อว่าชมพูภูคา เคยพบในประเทศจีนมณฑลยูนนานก่อนจะสูญพันธุ์ไป แล้วมาพบอีกครั้งที่ประเทศไทยที่ดอยภูคา จังหวัดน่านซึ่งเป็นเพียงที่เดียวที่ยังเหลืออยู่ ดอกชมพูภูคาจะบานเพียงปีละ 1 ครั้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เป็นอะไรที่ Unseen อีกแล้วนะครับ จากนั้นเราก็กลับไปยังที่พัก แล้วไปถนนคนเดินที่วัดภูมินทร์กันครับ

image00025

ถนนคนเดิน กระซิบรัก เสมอดาว ที่น่าน

image00026

ลานขันโตก ที่ซื้ออาหารแล้วมานั่งทานรวมกันได้

image00023

ภายในอุโบสถ วัดภูมินทร์

image00022

ภาพวาดจิตกรรม กระซิบรัก วัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์ เป็นวัดที่เก่าแก่และโด่งดังมาก โดยเฉพาะจุดเด่นของภาพจิตรกรรมที่ตั้งชื่อว่า “กระซิบรัก” เป็นตัวผลักดันให้วัดนี้เป็นที่รู้จักอย่างมาก ด้านข้างวัดภูมินทร์จะมีถนนคนเดินที่เราสามารถซื้อของจากแต่ละร้านแล้วมานั่งรับประทานในขันโตกโดยมีเสื่อปูไว้ให้พร้อม เมื่ออิ่มเรียบร้อยผมก็แวะไปเก็บรูปที่วัดช้างค้ำไม่ไกลจากวัดภูมินทร์ จากนั้นก็กลับที่พักเพื่อไปพักผ่อน เพราะพรุ่งนี้เพื่อนผมจะเริ่มพิธีแต่งงานแต่เช้าเลยครับ

image00027

วัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน

งานแต่งงานก็เริ่มไปอย่างราบรื่น ทุกคนมีความสุขและยินดีกับคู่บ่าวสาวกันอย่างถ้วนหน้า เสียงบรรยายผสมปนเปไปกับเสียงพูดคุยอย่างครึกครึ้น พวกผมก็ช่วยกันแจกของ ถ่ายรูปบ้าง ช่วยกินบ้างไปตามประสาจนกระทั่งเสร็จงาน พวกผมก็ไปจัดแจงเก็บข้าวของขึ้นรถตู้ และเราจะไปแวะกันที่สุดท้ายก็คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เดิมเป็นที่ประดับของผู้ครองนครน่าน หรือเรียกกันว่า “หอคำ” ภายในมีการจัดแสดง โบราณวัตถุ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ และยังมี “งาช้างดำ” ที่มีเพียงตำนานเล่าขานว่างาช้างดำ เปรียมเสมือนความเป็นมิตรไมตรีระหว่างเมืองน่านกับเมืองเชียงตุง โดยทั้งสองเมืองนี้เก็บรักษางาช้างดำคนละข้างเอาไว้ตราบจนปัจจุบัน และพวกผมก็ไม่พลาดที่จะถ่ายรูปกับทางเดินดอกลีลาวดีที่ไร้ดอก ฮ่าๆ ซึ่งไม่ว่าจะมากี่ครั้งก็ต้องมาถ่ายรูปทุกครั้งจริงๆ

%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b8%b3

งาช้างดำ จากเว็บไซต์ ้http://oknation.nationtv.tv

image00028

ทางเดินดอกลีลาวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

แล้วก็ออกเดินทางกลับกรุงเทพฯ กัน ทริปนี้ได้มาเจอกับที่ที่คุ้นเคย เป็นการรำลึกความหวังครั้งยังเยาว์วัย และยังได้ร่วมแสดงความยินดีกับเพื่อนคนสวยอีกด้วย เป็นการมาจังหวัดน่านที่คุ้มค่ามากๆ จึงจบทริปไว้เพียงเท่านี้ แล้วแพ็คกระเป๋าไปเที่ยวด้วยกันใหม่นะคร้าบ

อัลบั้มรูป

Facebook Comments

You may also like...

1 Shares
Share1
Tweet
Pin